วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552









Annular Eclipse of the Sun: 2009 January 26
1. สุริยุปราคาวงแหวน 26 มกราคม 2552
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 26 มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ตรงกับวันตรุษจีน ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิดหมดทั้งดวง เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 13.06 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย แต่ผืนดินทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นผ่านช่องแคบกะริมาตา เกาะบอร์เนียว กับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลระหว่างเกาะเซลีเบสกับเกาะมินดาเนา
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. บังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนเมื่อเทียบกับขอบฟ้า หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน
จาก http://www.snr.ac.th/wita/story/sun_moon2009.htm

วันจันทร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552

มหัศจรรย์ ฝนดาวตกในปี 2552

1 มกราคม 2552 .........วรเชษฐ์ บุญปลอด
โดยทั่วไปในสภาพท้องฟ้าที่ดีไม่มีเมฆหมอกหรือแสงไฟฝุ่นควันรบกวน เราสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง ในหลายช่วงของปีจะมีดาวตกที่ดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า เรียกว่าฝนดาวตก (meteor shower)
ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางทิ้งไว้ ดาวตกที่เกิดจากสะเก็ดดาวเหล่านี้มีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีลักษณะของดาวตกที่เห็น และจำนวนความถี่แตกต่างกันตามแต่องค์ประกอบและความเร็วของสะเก็ดดาว ฝนดาวตกบางกลุ่มอาจมีอัตราต่ำเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงแต่ยังก็เรียกว่าฝนดาวตกเนื่องจากมีแหล่งกำเนิดที่สังเกตได้ว่าดูเหมือนพุ่งออกมาจากบริเวณหนึ่งบนท้องฟ้า จุดนั้นเรียกว่าจุดกระจายฝนดาวตก (radiant) มักเรียกชี่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวหรือดาวที่อยู่ในบริเวณจุดกระจายฝนดาวตก
ฝนดาวตกกลุ่มดาวสำคัญ ๆ ส่วนใหญ่ในปีนี้ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ที่น่าดูที่สุดอาจจะเป็นฝนดาวตกสิงโต จุดกระจายฝนดาวตกชุดนี้อยู่บริเวณหัวของกลุ่มดาวสิงโตซึ่งมีลักษณะคล้ายเคียว นักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์ดาวตกหลายคนคำนวณพบว่าปีนี้โลกจะฝ่าเข้าไปในธารสะเก็ดดาวที่ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิลทิ้งเอาไว้ในปี ค.ศ. 1466 และ 1533 ทำให้คาดหมายว่าฝนดาวตกสิงโตในปีนี้จะมีอัตราการตกสูงสุดมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง หรือมากกว่า 1-2 ดวงต่อนาที (อาจมากกว่านี้ได้อีก) ในเวลาประมาณ 4.00-5.00 ของเช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาประเทศไทย รายละเอียดของผลการพยากรณ์จะนำเสนอต่อไปเมื่อมีข้อมูลเพิ่มเติม
นอกจากฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกคนคู่ในเดือนธันวาคมก็น่าสนใจเช่นกัน เนื่องจากมีจำนวนมากทุกปีและไม่มีแสงจันทร์รบกวน จุดกระจายฝนดาวตกคนคู่อยู่ใกล้ดาวคาสเตอร์ในกลุ่มดาวคนคู่ ต้นกำเนิดของฝนดาวตกชุดนี้มาจากดาวเคราะห์น้อยฟีทอนซึ่งอาจเคยเป็นดาวหางมาก่อน


ฝนดาวตกในปี 2552

ควอดแดรนต์ วันที่ 3/4 ม.ค. เวลา 2.00 น.

พิณ วันที่ 22/23 เม.ย. เวลา 22.00 น.

อีตาคนแบกหม้อน้ำ วันที่5/6 พ.ค. เวลา 2.00 น.

เดลตาคนแบกหม้อน้ำวันที่27/28 ก.ค. เวลา 21.00 น.

เพอร์ซิอัส วันที่ 12/13 ส.ค. เวลา 22.00 น.

นายพราน วันที่ 21/22 ต.ค.. เวลา 23.00 น.

สิงโต วันที่ 17/18 พ.ย. เวลา 00.30 น.

คนคู่ วันที่ 13/14 ธ.ค. เวลา20.00 น.

หมายเหตุ
ตัวเลขสำหรับสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท หากมีแสงจันทร์และมลพิษทางแสงรบกวน จะมีจำนวนดาวตกที่เห็นลดลงจากค่าในตารางนี้
คอลัมน์ "คืนที่มีมากที่สุด" เครื่องหมาย / ใช้คั่นคืนวันแรกกับเช้ามืดของอีกวันหนึ่ง เช่น 3/4 หมายถึงคืนวันที่ 3 ต่อเช้ามืดวันที่ 4
ดัดแปลงจากตารางฝนดาวตกประจำปีเผยแพร่โดย
องค์การอุกกาบาตสากล (International Meteor Organization - IMO)

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

"อิทธิพลดาวหางที่มีต่อโลก"

1. เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงหรื่อแรงดึงดูดโลก
2. เกี่ยวกับรับสีที่ดาวหางฉายมายังโลก รังสีที่ดาวหางแผ่ออกจากตัวมีทั้งแสงอาทิตย์สะท้อนจากฝุ่นและก๊าซ เมื่อดาวหางเข้าใหล้ดวงอาทิตย์มาก จากการตรวจสอบรังสีนี้ไม่มีความเข้มข้นที่ก่อให้เกิดอันตรายาต่อชีวิตมนุษย์,สัตว์ หรือพืชทีมีอยู่ในโลกแต่อย่างใด
3. ฝุ่นและก๊าซในหางของดาวหางที่หลุดออกจากอำนาจแรงดึงดูดส่วนใจกลางหัวจะกระจัดกระจายออกในอวกาศ ฝุ่นซึ่งเป็นอนุภาคของแข็งแผ่กระจายในระนาบวงโคจรดาวหางรอบดวงอาทิตย์ส่วนก๊าซฟุ้งกระจายไปและอาจถูกฟลักดันโดยอนุภาคไฟฟ้าในลมสุริยะสรุปได้ว่าดางหางไม่มีอิทธิพลต่อโลกหรื่อสิ่งมีชีวิตบนโลก

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552






ดาวหางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
1.ใจกลางหัว หรือ นิวเคลียส (Nucleus)
2.หัว หรือ โคมา (Coma)
3.หาง (tail)

นิวเคลียสของดาวหางเป็น "ก้อนน้ำแข็งสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกันเมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ความร้อนจากดวงอาทิตย์จะ ให้น้ำแข็งระเหิดเป็นไอ และปล่อยก๊าซออกมาเกาะกลุ่มเป็นทรงกลมขนาดมหึมาล้อมรอบนิวเคลียส เรียกว่า โคม่า โคม่าอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึงหลายล้านกิโลเมตรก็ได้จากการศึกษาดาวหางในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต พบว่า มีชั้นของไฮโดรเจน ห่อหุ้มดาวหางอีกชั้นหนึ่ง ไฮโดรเจนเหล่านี้เกิดจากไอน้ำที่แตกตัวอันเนื่องมาจากรังสีจากดวงอาทิตย์ก๊าซและฝุ่นพุ่งเป็นลำออกจากนิวเคลียสในด้านที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นจะถูกลมสุริยะพัดให้ปลิวออกไปทางด้านหลั
หางของดาวหางยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ หางก๊าซ หรือ หาง
พลาสมา หรือ หางอิออน ประกอบด้วยอิออนและโมเลกุลที่ส่องสว่างโดยการเรืองแสง ถูกผลักออกไปโดยสนามแม่เหล็กในลมสุริยะ ดังนั้นความผันแปรของลมสุริยะจึงมีผลต่อการเปลี่ยนรูปร่างของหางก๊าซด้วย หางก๊าซจะอยู่ในระนาบวงโคจรของดาวหาง และชี้ไปในทิศเกือบตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดี
หางอีกชนิดหนึ่งคือ หางฝุ่น ประกอบด้วยฝุ่นหรืออนุภาคอื่น ๆ ที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ถูกผลักออกจากดาวหางด้วยแรงดันของรังสีในขณะที่ดาวหางใกล้ดวงอาทิตย์ หางของมันอาจยาวได้ถึงหลายร้อยล้านกิโลเมตร
ดาวหาง (Comet)เป็นวัตถุในท้องฟ้าที่ไม่มีแสงในตัวเองประกอบด้วยฝุ่นผง ก้อนนำแข็งและก๊าซแข็งตัว และจะเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรีมาก ขณะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์จะไม่มีหาง ไม่มีแสงสว่าง เมื่อ โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ พลังงานทั้งในรูปความร้อนและลมสุริยะ (อนุภาคมีประจุจะถูกปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ สว่นใหญ่ประกอบด้วยโปรตอนและอิเลกตรอน) ทำให้นำแข็งกลายเป็นไอ ดาวหางจะขยายตัวใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น และพลังงานดังกล่าวจะพลักดันให้หางพุ่งในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ส่วนหางจะมีทั้งที่เป็นฝุ่น ฏ๊าซและโมเลกุลที่มีประจุไฟฟ้าดาวหางแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม1.Periodical Comets คือ ดาวหางที่มีวงโคจรแน่นอน เช่นดาวหางฮัลเลย์จะมาปรกฏให้เห็นทุกๆ 76 ปี2.Non-Periodical Come
ts คือดาวหางที่มีวงโคจรที่ไม่แน่นอน