วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552









Annular Eclipse of the Sun: 2009 January 26
1. สุริยุปราคาวงแหวน 26 มกราคม 2552
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 26 มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ตรงกับวันตรุษจีน ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิดหมดทั้งดวง เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 13.06 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย แต่ผืนดินทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นผ่านช่องแคบกะริมาตา เกาะบอร์เนียว กับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลระหว่างเกาะเซลีเบสกับเกาะมินดาเนา
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. บังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนเมื่อเทียบกับขอบฟ้า หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน
จาก http://www.snr.ac.th/wita/story/sun_moon2009.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น