วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552


ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin)
2 กุมภาพันธ์ 2552 วรเชษฐ์ บุญปลอด
จากข้อมูลถึงขณะนี้ ปี 2552 ยังไม่มีดาวหางดวงใดที่สังเกตเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin) เป็นดาวหางดวงเดียวที่มีโอกาสจะสว่างถึงระดับที่สังเกตการณ์ได้ไม่ยากนักด้วยกล้องสองตา โดยเฉพาะในคืนที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ภายใต้ฟ้ามืดห่างจากเมืองใหญ่
ดาวหางลู่หลินถูกค้นพบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 จากภาพถ่ายที่หอดูดาวลู่หลินในไต้หวัน โดยเย่ ฉวนจื้อ (Quanzhi Ye) นักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นบนจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะนั้นดาวหางมีอันดับความสว่างหรือโชติมาตร 18.9 จางกว่าที่ตาเปล่าของมนุษย์จะมองเห็นได้ราว 100,000 เท่า รายงานในตอนแรกระบุว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย ต่อมาสังเกตพบโคม่ามีใจกลางสว่าง อันเป็นลักษณะของดาวหาง


ตำแหน่งดาวหางบนท้องฟ้าประเทศไทย
ต้นเดือนมกราคมดาวหางปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดที่โชติมาตร 7-8 ในกลุ่มดาวคันชั่ง ใกล้ส่วนหัวของกลุ่มดาวแมงป่อง แต่ยังสังเกตได้ค่อนข้างยากเพราะอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก กลางเดือนหรือปลายเดือนมกราคม 2552 ดาวหางจะออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นและเริ่มสังเกตการณ์ได้ดี ดาวหางเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในกลางเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าเป็นช่วงที่มีโชติมาตรประมาณ 6 ปลายเดือนดาวหางเคลื่อนไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สามารถสังเกตได้ทั้งคืนตั้งแต่เวลาหัวค่ำถึงเช้ามืด และโชคดีที่เป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ดาวหางลู่หลินเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าจะมีโชติมาตรราว ๆ 5 หรือ 6 เช้ามืดวันนั้นดาวหางอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดาวเสาร์ประมาณ 2° วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดาวหางจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มันอาจสว่างขึ้นได้เล็กน้อยจากระดับปกติ เนื่องจากวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ระนาบสุริยวิถี หลังจากนั้นจึงจะจางลง
คืนวันที่ 27 ถึงเช้ามืดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ดาวหางผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะไม่ถึง 1° เข้าสู่กลุ่มดาวปูในช่วงต้นเดือนมีนาคม ผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในคืนวันที่ 5 ถึงเช้ามืดวันที่ 6 มีนาคม (แสงจันทร์รบกวน) ปลายเดือนมีนาคมคาดว่าดาวหางจะจางลงไปที่โชติมาตร 8
ข้อมูลความสว่างของดาวหางล่าสุด (ปลายเดือนมกราคม - ต้นเดือนกุมภาพันธ์) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.5 มีหางจางมาก 2 หาง ทอดยาวออกไปเกือบตรงข้ามกัน หางที่ดูเหมือนชี้เข้าหาดวงอาทิตย์เรียกว่าหางย้อน (antitail) มีโอกาสเห็นได้เมื่อโลกอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวหาง การดูดาวหางดวงนี้ต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยควรหาสถานที่ที่ไม่มีแสงไฟรบกวน เมืองใหญ่มีโอกาสเห็นน้อยมาก เนื่องจากดาวหางไม่สว่างนัก อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นการคาดหมายจากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ดาวหางเป็นวัตถุที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น อาจจางลงหรือสว่างกว่าที่คาดไว้


วงโคจร
วงโคจรของดาวหางลู่หลินเกือบเป็นพาราโบลา แสดงว่านี่อาจเป็นครั้งแรกที่มันเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 178° กับระนาบวงโคจรโลก มันจึงเคลื่อนที่สวนทางกับทิศทางการเคลื่อนที่ของโลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ที่ระยะห่าง 1.212 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 181 ล้านกิโลเมตร) ก่อนจะใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 61.5 ล้านกิโลเมตร)


หมายเหตุ :
วารสารทางช้างเผือก ฉบับคู่มือดูดาว พ.ศ. 2552 ใช้ชื่อดาวหางว่าลูลิน เป็นดาวหางดวงเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เก็บตกบล็อกอยากส่งจัทรน์ยิ้มน่ารักรับวาเลนไทน์






ภาพปรากฎการณ์ "พระจันทร์ยิ้ม" นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่ง ชาติระบุว่า เป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กัน (Conjunction of Moon, Venus and Jupiter) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างกันเพียง 2 องศา และดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยว หันด้านมืดเข้าหาดาวเคราะห์ทั้งสองพอดี ทั้งนี้ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีและอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย ภาพปรากฎการณ์ "พระจันทร์ยิ้ม" นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่ง ชาติระบุว่า เป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ ดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้กัน (Conjunction of Moon, Venus and Jupiter) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำของวันที่ 1 ธ.ค.นี้ โดยดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างกันเพียง 2 องศา และดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยว หันด้านมืดเข้าหาดาวเคราะห์ทั้งสองพอดี ทั้งนี้ดาวศุกร์จะสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีและอยู่เยื้องต่ำกว่าเล็กน้อย




http://iblog.siamhrm.com/content

จันทรุปราคาครั้งแรกของปี52













จันทรุปราคาเงามัว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นเพียงแสงสว่างของดวงจันทร์ลดลงเท่านั้น
วันนี้ (9 ก.พ.) นายสิทธิชัย จันทรศิลปิน หัวหน้าฝ่ายท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กล่าวว่า จันทรุปราคาปีนี้มี 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดในวันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา แต่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เพราะว่าดวงจันทร์โคจรเข้าสัมผัสบริเวณเงามัวของโลกเท่านั้น เริ่มเกิดปรากฏการณ์เวลาประมาณ 19.36 น. ดวงจันทร์เข้าไปในเงามัวเต็มที่ 21.49 น. และจะเริ่มเคลื่อนออกจนสิ้นสุดเวลาประมาณ 23.39 น.
หัวหน้าฝ่ายท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา กล่าวว่า จันทรุปราคาเงามัว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นเพียงแสงสว่างของดวงจันทร์ลดลงเท่านั้น ไม่มีการเว้าแหว่งแต่อย่างใดปรากฏการณ์จันทรุปราคา เกิดจากการที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทั้งดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน จึงมองเห็นดวงจันทร์แหว่งมากขึ้นจนหมดดวง และโผล่อีกครั้ง หรือที่เรียกว่า ราหูอมจันทร์ เกิดขึ้นในวันเพ็ญ 15 ค่ำ และมักจะเกิดหลังปรากฏการณ์สุริยุปราคา

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

By : http://sunflowercosmos.org/space_news/space_science_home/comet_lulin.html






ดาวหางใหม่ Comet Lulin (C/2007 N3) สำรวจพบเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 ด้วยความร่วมมือระหว่าง นักดาราศาสตร์ชาวจีนและชาวใต้หวัน โดย Quanzhi Ye (Guangzhou - China) และ Chi Sheng Lin (Lulin Sky Survey) ใช้เวลาสำรวจติดตามข้อมูลจาก Lulin Observatory - Nantou -Taiwan ( Lulin ซึ่งภายหลังเป็นชื่อดาวหาง แปลจากภาษาจีนมีความหมายว่า สวนกวาง) มาจากขอบระบบสุริยะ กำลังบ่ายหน้ามุ่งเข้าสู่ ดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งเข้าใกล้โลกมีความสุกสว่างสามารถใช้กล้องทางดาราศาสตร์ สำรวจเห็นได้ และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ สามารถมองเห็นด้วย ตาเปล่าได้ Comet Lulin เป็นก้อนน้ำแข็ง - หิน (Lump of ice and rock) ระดับความสุกสว่าง18.8 magnitude ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับกิโลเมตร มีตำแหน่งในบริเวณหมู่ดาว Libra [ LYE-bruh /คันชั่ง] ความสุกสว่างระดับ 8 magnitude ช่วงเดือนมกราคม 2009 แต่ในเดือนกุมภาพันธ์2009 จะมีตำแหน่งใกล้โลกโดยเฉพาะในวันที่ 24 มีระยะห่างเพียง 0.41 AU.จากระยะวงโคจร ราว 60 ล้านกิโลเมตร จะมีความสุกสว่างมากขึ้น ระดับ 5 magnitudeสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ (ลักษณะพร่าๆ) และหากใช้กล้อง Binoculars(กล้อง 2 ตา) ช่วยการสำรวจ จะค้นหาเป้าหมายได้ไม่ยากตรวจสอบ Orbit Diagram ข้อมูลจาก NASA ตรวจสอบ Orbital Elements และ Ephemeris ข้อมูลจาก The Minor PlanetCenter (MPC) และ Smithsonian Astrophysical Observatoryคำเตือน ขณะดาวหางมุ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ หรือ มีระยะใกล้ดวงอาทิตย์การสำรวจในเวลากลางวัน ต้องระมัดระวัง ห้ามดูด้วยตาเปล่าโดยเด็ดขาดและใช้อุปกรณ์สำหรับดูดวงอาทิตย์ มิฉะนั้นมีอันตรายทำให้ตาบอดได้


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ นักดาราศาสตร์ กำลังตรวจสอบเพิ่มเติมว่า Comet Lulinโคจรมาจากระยะไกลนั้น นับเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าสู่ วงโคจรชั้นในของระบบสุริยะ (Inner solar system) หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นจริง หมายความว่า เราได้ต้อนรับการมาเยือนของดาวหาง Comet Lulin (C/2007 N3) ในปีแห่งดาราศาสตร์สากล นอกจากนั้นด้าน ชีววิทยาอวกาศ เชื่อว่า ดาวหางเปลี่ยนเสมือน ตัวแมลงเล็กๆ ของระบบสุริยะ ที่บินไปบินมา หอบเอาเกสรแหล่งต้นกำเนิดชีวิต Origin of Lifeมาจากระยะไกล จากที่ต่างๆ อาจจากขอบระบบสุริยะ อาจจากแหล่งที่เราไม่รู้จักในแถบทางช้างเผือก เข้ามาทิ้งในอวกาศเข้าสู่โลก หรือดาวเคราะห์ ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

กรุณาดาวว์โหลดไฟล์googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552









Annular Eclipse of the Sun: 2009 January 26
1. สุริยุปราคาวงแหวน 26 มกราคม 2552
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีเริ่มในช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 26 มกราคม ตามเวลาในประเทศไทย ตรงกับวันตรุษจีน ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ จึงบังดวงอาทิตย์ไม่มิดหมดทั้งดวง เส้นทางสุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่ในทะเล เงามืดของดวงจันทร์เริ่มสัมผัสผิวโลกทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 13.06 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก เข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย จุดที่เห็นสุริยุปราคาวงแหวนนานที่สุดอยู่ในมหาสมุทรด้วยระยะเวลานาน 7 นาที 56 วินาที
ศูนย์กลางเงาผ่านหมู่เกาะขนาดเล็กของเครือรัฐออสเตรเลียในมหาสมุทรอินเดีย แต่ผืนดินทางใต้ของเกาะสุมาตรากับด้านตะวันตกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นผ่านช่องแคบกะริมาตา เกาะบอร์เนียว กับบางส่วนทางตอนเหนือของเกาะเซลีเบส สุริยุปราคาวงแหวนสิ้นสุดในเวลา 16.52 น. เป็นจังหวะที่ศูนย์กลางเงาหลุดออกจากผิวโลกในทะเลระหว่างเกาะเซลีเบสกับเกาะมินดาเนา
บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมทางใต้ของทวีปแอฟริกา มาดากัสการ์ บางส่วนของแอนตาร์กติกา ตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย (ยกเว้นแทสเมเนีย) รวมไปถึงบางส่วนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่
ประเทศไทยอยู่ในพื้นที่ที่สามารถเห็นสุริยุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดบางส่วน ต้องใช้แผ่นกรองแสงหรือการสังเกตการณ์ทางอ้อม ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีโอกาสเห็นดวงอาทิตย์แหว่งมากที่สุด โดยเฉลี่ยเริ่มเวลาประมาณ 16.00 น. บังเต็มที่ในเวลาประมาณ 17.00 น. และสิ้นสุดในเวลาประมาณ 18.00 น. โดยจะเห็นดวงอาทิตย์แหว่งทางซ้ายมือค่อนไปทางด้านบนเมื่อเทียบกับขอบฟ้า หลายจังหวัดทางด้านตะวันออกของภาคอีสาน จะยังคงเห็นดวงอาทิตย์แหว่งอยู่เล็กน้อยในจังหวะที่ดวงอาทิตย์ตกดิน
จาก http://www.snr.ac.th/wita/story/sun_moon2009.htm