วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552





ดาวหางใหม่ Comet Lulin (C/2007 N3) สำรวจพบเมื่อ 11 กรกฎาคม 2007 ด้วยความร่วมมือระหว่าง นักดาราศาสตร์ชาวจีนและชาวใต้หวัน โดย Quanzhi Ye (Guangzhou - China) และ Chi Sheng Lin (Lulin Sky Survey) ใช้เวลาสำรวจติดตามข้อมูลจาก Lulin Observatory - Nantou -Taiwan ( Lulin ซึ่งภายหลังเป็นชื่อดาวหาง แปลจากภาษาจีนมีความหมายว่า สวนกวาง) มาจากขอบระบบสุริยะ กำลังบ่ายหน้ามุ่งเข้าสู่ ดวงอาทิตย์ มีตำแหน่งเข้าใกล้โลกมีความสุกสว่างสามารถใช้กล้องทางดาราศาสตร์ สำรวจเห็นได้ และช่วงเดือนกุมภาพันธ์ สามารถมองเห็นด้วย ตาเปล่าได้ Comet Lulin เป็นก้อนน้ำแข็ง - หิน (Lump of ice and rock) ระดับความสุกสว่าง18.8 magnitude ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับกิโลเมตร มีตำแหน่งในบริเวณหมู่ดาว Libra [ LYE-bruh /คันชั่ง] ความสุกสว่างระดับ 8 magnitude ช่วงเดือนมกราคม 2009 แต่ในเดือนกุมภาพันธ์2009 จะมีตำแหน่งใกล้โลกโดยเฉพาะในวันที่ 24 มีระยะห่างเพียง 0.41 AU.จากระยะวงโคจร ราว 60 ล้านกิโลเมตร จะมีความสุกสว่างมากขึ้น ระดับ 5 magnitudeสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ (ลักษณะพร่าๆ) และหากใช้กล้อง Binoculars(กล้อง 2 ตา) ช่วยการสำรวจ จะค้นหาเป้าหมายได้ไม่ยากตรวจสอบ Orbit Diagram ข้อมูลจาก NASA ตรวจสอบ Orbital Elements และ Ephemeris ข้อมูลจาก The Minor PlanetCenter (MPC) และ Smithsonian Astrophysical Observatoryคำเตือน ขณะดาวหางมุ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ หรือ มีระยะใกล้ดวงอาทิตย์การสำรวจในเวลากลางวัน ต้องระมัดระวัง ห้ามดูด้วยตาเปล่าโดยเด็ดขาดและใช้อุปกรณ์สำหรับดูดวงอาทิตย์ มิฉะนั้นมีอันตรายทำให้ตาบอดได้


อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ นักดาราศาสตร์ กำลังตรวจสอบเพิ่มเติมว่า Comet Lulinโคจรมาจากระยะไกลนั้น นับเป็นครั้งแรกที่ได้เข้าสู่ วงโคจรชั้นในของระบบสุริยะ (Inner solar system) หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นจริง หมายความว่า เราได้ต้อนรับการมาเยือนของดาวหาง Comet Lulin (C/2007 N3) ในปีแห่งดาราศาสตร์สากล นอกจากนั้นด้าน ชีววิทยาอวกาศ เชื่อว่า ดาวหางเปลี่ยนเสมือน ตัวแมลงเล็กๆ ของระบบสุริยะ ที่บินไปบินมา หอบเอาเกสรแหล่งต้นกำเนิดชีวิต Origin of Lifeมาจากระยะไกล จากที่ต่างๆ อาจจากขอบระบบสุริยะ อาจจากแหล่งที่เราไม่รู้จักในแถบทางช้างเผือก เข้ามาทิ้งในอวกาศเข้าสู่โลก หรือดาวเคราะห์ ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น